ยางพารา และ อุตสาหกรรมแผ่นยางพารา
23 มีนาคม 2563
ยางพาราและ อุตสาหกรรมแผ่นยางพารา
ยางพาราเป็นพืชยืนต้นใช้เวลาในการปลูกนานถึง 6 ปี จึงสามารถกรีดน้ำยางได้ ผลผลิตจากยางพาราจะออกสู่ตลาดเกือบทั้งปี โดยจะออกสู่ตลาดมากช่วงปลายปีต่อเนื่องจนไปถึงต้นปี เนื่องจากเป็นช่วงปลายฤดูฝน ดินมีความชุ่มชื้น หลังจากนั้นผลผลิตจะลดลงในช่วงเดือนมีนาคมและเมษายน ซึ่งจะเป็นช่วงฤดูฝนที่ต้นยางผลัดใบจะได้น้ำยางน้อย เนื่องจากสภาพอากาศก่อให้เกิดความกระทบกระเทือนต่อการเจริญเติบโตของต้นยาง ดังนั้นในปีหนึ่งๆ ชาวสวนจะกรีดยางได้เฉลี่ยประมาณ 120-180 วัน
ประเทศไทยถือได้ว่าเป็นผู้ปลูกยางพารามากที่สุดในโลก และมีการนำยางพารามาใช้ประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ส่งผลให้อุตสาหกรรมของยางพาราเกิดขึ้นในประเทศเป็นจำนวนมาก ปัจจุบันประเทศไทยคือหนึ่งในผู้ผลิตแผ่นยางรายใหญ่ของโลก ชาวสวนยางพาราในประเทศไทยจะขายเป็นน้ำยางเพื่อส่งเข้าโรงงานผลิตแผ่นยาง การผลิตยางแผ่นนั้นเริ่มมาจากประเทศมาเลเซีย ตามด้วยประเทศอินโดนีเซียและประเทศไทย โดยยางที่ผลิตมาจาก 3 ประเทศผู้ผลิตหลักนั้นจะผ่านการทดสอบและอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานของสินค้า ตลอดจนมีการปรับปรุงคุณภาพให้ตรงความต้องการของผู้ใช้
ผลผลิตของยางพารานั้นยังสามารถพัฒนาต่อไปในอนาคตได้ เนื่องจากผลิตภัณฑ์ยางพาราหลายประเภทได้นำมาใช้ในชีวิตประจำวันของคนทั่วโลกมากขึ้น เช่น แผ่นยางอุตสาหกรรม ยางกันกระแทก ยางกันสารเคมี ยางกันไฟ ยางรถยนต์ อะไหล่เครื่องจักร อะไหล่รถยนต์ และ เครื่องมือแพทย์ เป็นต้น หากมีการผลิตผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เช่น เขื่อนยาง หรือใช้ยางพาราทำถนน ก็จะทำให้มีการใช้ยางพารามากขึ้น ซึ่งจะทำให้ยางพารามีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นโอกาสในการพัฒนาของประเทศไทยในฐานะผู้ผลิตยางพารามากเป็นอันดับหนึ่งของโลกด้วย
เครดิต : http://www.arda.or.th/